แผ่นดินไหวรุนแรง รุดตรวจ 'พระพุทธมิ่งขวัญเมือง อายุ 700 ปี แตกร้าวยาวหลายจุด เร่งวางแผนบูรณะ
ข่าวประจำวัน

30 มี.ค. 68 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรงในประเทศเมียนมา วัดขนาดได้ 7.7 แมกนิจูด จุดศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ รับรู้แรงสั่นสะเทือนในพื้นที่ ส่งผลกระทบในหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ
ล่าสุด นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ พร้อมด้วย นางอนงค์รักษ์ กันธิยาใจ ผอ.สำนักพุทธศาสนา น.ส.ทัศนีย์ ดอนเนตร์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ นายสิทธิภัทร ป่ละนันทน์ โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแพร่
ได้ร่วมกันตรวจสอบความเสียหายของ “พระพุทธมิ่งขวัญเมือง” พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีอายุประมาณ 700 ปี ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมา พระวิหารมิ่งเมือง วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
โดยมี พระครูวิจิตร ปริยัตยาทร เจ้าคณะตำบลในเวียงเขต 1 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ผอ.รร.พุทธโกศัยวิทยา นำคณะเข้าตรวจสอบ
จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า พระพุทธมิ่งขวัญเมือง ซึ่งเป็นพระประธานภายในวิหารหลวงมิ่งเมือง มีรอยแตกร้าว ตั้งแต่หัวไหล่ซ้ายลงมาแขนซ้าย หน้าอก และด้านหลัง เป็นรอยร้าวยาว เนื่องจากเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นโบราณ ภายในมีแกนเหล็กที่ใช้เทคนิคการตีเหล็กแบบโบราณ ทำให้เกิดความเปราะบางต่อแรงสั่นสะเทือน
ทั้งนี้ ทางจังหวัดแพร่ได้ ประสานเจ้าหน้าที่จากสำนักงานศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ ให้เข้าตรวจสอบและประเมินความเสียหายในวันที่ 3 เมษายน 2568 เพื่อวางแผนการบูรณะต่อไป
นายสมชัย กล่าวว่า เบื้องต้นพบว่าความเสียหายของพระพุทธมิ่งขวัญเมืองเป็นรอยแตกร้าวทางยาวจากแขนซ้ายลามถึงพระอุระและพระศอ เนื่องจากทางจังหวัดไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการซ่อมแซมโบราณวัตถุ จึงได้มอบหมายให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแพร่ประสานงานกับสำนักงานศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เพื่อเข้ามาประเมินและกำหนดแนวทางการบูรณะ ทั้งนี้ ต้องรอการสำรวจและรายงานการประเมินจากสำนักงานศิลปากรก่อน จึงจะสามารถกำหนดงบประมาณและแนวทางการซ่อมแซมต่อไปได้”
ด้านพระครูวิจิตร เจริญพรว่า พระพุทธมิ่งขวัญเมืองเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สร้างขึ้นในสมัยเจ้าหลวงเมืองแพร่ แม้ว่าประวัติที่แน่ชัดจะไม่ปรากฏ แต่คาดว่าอายุมากกว่า 700 ปี ลักษณะเป็นศิลปะแพร่โดยแท้ ไม่เหมือนพระพุทธรูปที่พบในที่อื่น
นอกจากนี้ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเคยเป็นวัดของเจ้าหลวงเมืองแพร่ ก่อนที่จะมีการรวมวัดมิ่งเมืองและวัดพระบาทเข้าด้วยกันในปี 2492 และได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหารในปี 2498 จึงถือเป็นศูนย์กลางทางศาสนาที่สำคัญของจังหวัดแพร่
ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการตรวจสอบและเตรียมแผนบูรณะเพื่อรักษาพระพุทธมิ่งขวัญเมืองให้อยู่คู่กับเมืองแพร่ต่อไป
ขอขอบคุณข้อมูลจากทางข่าวสดออนไลน์
.......
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
ปาฏิหาริย์อีกครั้ง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ช่วยชีวิตคุณยายวัย 73 ปี ให้รอดตายอย่างน่าอัศจรรย์ใจ (คลิ๊ก)พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณ พระผู้สร้างเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ หนึ่งเดียวในตำนานประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี (คลิ๊ก)
สแกน QR Code เพื่อการเที่ยวชมความจริงของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองความจริงทั้งพระบถ
QR Code เพื่อการสำรวจความงามของวัดอรุณทั้งพระอาราม.
QR 碼以探索黎明寺的美麗。整個修道院。