ฝนถล่มต่อเนื่อง ปภ. เผย 11จว.ยังท่วม "กาฬสินธุ์-อุบลฯ" อ่วมน้ำเพิ่มอีก
ข่าวประจำวัน
วันที่ 11 ต.ค.2566 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานจากสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ระหว่างวันที่ 26 ก.ย.-11 ต.ค. 66 เกิดสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 35 จังหวัด 138 อำเภอ 515 ตำบล 2,506 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 52,290 ครัวเรือน
ปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ 11 จังหวัด 45 อำเภอ 182 ตำบล 925 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20,196 ครัวเรือน ได้แก่ นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอชุมแสง รวม 1 ตำบล 3 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 36 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง เพชรบูรณ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอหล่มสัก รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว
พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ วังทอง เนินมะปราง นครไทย ชาติตระการ พรหมพิราม บางระกำ วัดโบสถ์ และเมืองพิษณุโลก รวม 41 ตำบล 194 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,843 ครัวเรือน ระดับลดลง อุตรดิตถ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุตรดิตถ์ น้ำปาด บ้านโคก ฟากท่า ลับแล และพิชัย รวม 12 ตำบล 34 หมู่บ้าน ระดับน้ำลดลง สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ ศรีสำโรง และคีรีมาศ รวม 22 ตำบล 144 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,860 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ เมืองชัยภูมิ จัตุรัส บ้านเขว้า เนินสง่า และคอนสวรรค์ รวม 11 ตำบล 40 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 336 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง ร้อยเอ็ด เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเชียงขวัญ รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง หนองบัวลำภู เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ นาวัง สุวรรณคูหา เมืองหนองบัวลำภู นากลาง และศรีบุญเรือง รวม 22 ตำบล 82 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 95 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
เลย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ เชียงคาน ท่าลี่ เมืองเลย รวม 9 ตำบล 26 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 744 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ เมืองกาฬสินธุ์ ร่องคำ ฆ้องชัย ยางตลาด กมลาไสย สามชัย ท่าคันโท หนองกุงศรี สหัสขันธ์ และห้วยเม็ก รวม 55 ตำบล 362 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,917 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ เมืองอุบลราชธานี วารินชำราบ และสว่างวีระวงศ์ รวม 7 ตำบล 38 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,340 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ภาพรวมสถานการณ์ระดับน้ำลดลงเกือบทุกพื้นที่ ยังคงมีที่จ.กาฬสินธุ์และอุบลราชธานีที่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น สำหรับการแก้ไขปัญหาและให้การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้ประสานจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
โดยระดมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย อาทิ เครื่องสูบส่งน้ำระยะไกล เครื่องสูบน้ำ รถเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย รถผลิตน้ำดื่ม รถประกอบอาหาร เพื่อแก้ไขปัญหา เร่งระบายน้ำ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ
สำหรับพื้นที่ที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ได้ระดมกำลังเจ้าหน้าที่ฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ตามปกติโดยเร็วที่สุด รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เข้าสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย เพื่อดำเนินการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ต่อไป
ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสาธารณภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทางไลน์ “ปภ.รับแจ้งเหตุ 1784” โดยเพิ่มเพื่อน Line ID @1784DDPM และสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถติดตามประกาศการแจ้งเตือนภัยได้ที่แอพพลิเคชัน “THAI DISASTER ALERT”
ขอขอบคุณข้อมูลจากทางข่าวสดออนไลน์
.......
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)
ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)
ปาฏิหาริย์อีกครั้ง เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ช่วยชีวิตคุณยายวัย 73 ปี ให้รอดตายอย่างน่าอัศจรรย์ใจ (คลิ๊ก)พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณ พระผู้สร้างเหรียญพระเจ้าตากชาววัดอรุณ หนึ่งเดียวในตำนานประวัติศาสตร์กรุงธนบุรี (คลิ๊ก)
สแกน QR Code เพื่อการเที่ยวชมความจริงของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองความจริงทั้งพระบถ
QR Code เพื่อการสำรวจความงามของวัดอรุณทั้งพระอาราม.
QR 碼以探索黎明寺的美麗。整個修道院。