ข่าวโผล่อีก! อ้างเป็นจนท.กสทช.-ผู้ให้บริการมือถือ อ้างชื่อถูกใช้ไปซื้อซิมโทรหลอกคนอื่น - kachon.com

โผล่อีก! อ้างเป็นจนท.กสทช.-ผู้ให้บริการมือถือ อ้างชื่อถูกใช้ไปซื้อซิมโทรหลอกคนอื่น
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s

เมื่อวันที่ 1 ต.ค.66 พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ในปัจจุบันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สร้างความเสียหาย และสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมิจฉาชีพสามารถเข้าถึงประชาชนได้หลากหลายช่องทาง ไม่ว่าเป็นจากช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ จากการส่งข้อความสั้น (SMS) และจากเครือข่ายโทรศัพท์มือถือต่างๆ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน

โดยมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) จะมีรูปแบบการทำงานเป็นขบวนการ แบ่งหน้าที่กันทำ หลอกลวงข่มขู่เหยื่อให้เกิดความกลัว หรือหลอกลวงให้เกิดความโลภ ใช้ความไม่รู้ของประชาชนเป็นเครื่องมือ

โดยที่ผ่านมาตรวจสอบพบว่ามีหลากหลายรูปแบบ เช่น การแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย หรือเจ้าหน้าที่บริษัทขนส่งสินค้า แจ้งไปยังผู้เสียหายว่าบัญชีธนาคาร หรือพัสดุที่จัดส่งไปยังต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดกฎหมาย หรือบัญชีธนาคารของผู้เสียหายถูกอายัด หรือเป็นหนี้ยังไม่ชำระบัตรเครดิต หรือเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติด เกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน เป็นบุคคลตามหมายจับ

รวมไปถึงหลอกลวงว่าได้รับเงินคืนภาษี ได้รับรางวัลต่างๆ หรือหลอกสอบถามข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้ในการแสวงหาผลประโยชน์โดยผิดกฎหมาย นอกจากนี้แล้วยังมีการหลอกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันของหน่วยงานปลอมที่สามารถควบคุมโทรศัพท์มือถือโอนเงินออกจากบัญชีอของผู้เสียหาย เป็นต้น

ที่ผ่านมา บช.สอท. โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. เร่งรัดขับเคลื่อนของนโยบายของรัฐบาล และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดอาชญากรรมออนไลน์ในทุกรูปแบบ รวมถึงการสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับการแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ ส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปหลอกลวงเอาทรัพย์สินของประชาชนสร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง

ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ร่วมกันแสวงหาแนวทาง และวางมาตรการป้องกันในการแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นโครงการเตือนภัยไซเบอร์วัคซีน การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับสถาบันการเงิน การบังคับกฎหมายตาม พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ.2566

 

การแก้ไขการรับจ้างการเปิดบัญชีธนาคาร การครอบครองซิมโทรศัพท์มือถือ การอายัดบัญชีธนาคารอย่างรวดเร็วให้ทันท่วงที การตรวจจับบัญชี หรือการทำธุรกรรมการเงินที่ต้องสงสัย และการยืนยันตัวตนก่อนทำธุรกรรมการเงินที่มีวงเงินสูง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีปฏิบัติการในหลายมิติที่สำคัญๆ หลายครั้ง อาทิ การปฏิบัติการตัดวงจรซิม-สาย-เสา การจับกุมข้าราชการนำข้อมูลไปขายให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ การร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่างประเทศทลายแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเหยื่อ ความเสียหายกว่า 3 พันล้านบาท ยุทธการโค่นเสาสัญญาณ หรือสถานีเถื่อนชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

แต่ที่ผ่านมายังคงตรวจสอบพบมีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์แอบอ้างเป็นพนักงานผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ และแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่สำนักงาน คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งผู้เสียหายว่า เปิดใช้บริการซิมโทรโทรศัพท์มือถือในพื้นที่จังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดตาก หรือจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล

โดยหมายเลขที่เปิดใช้บริการในชื่อของผู้เสียหายนั้น ถูกนำไปใช้กระทำผิดกฎหมายต่างๆ หรือถูกนำไปใช้หลอกลวงบุคคลอื่น โดยแจ้งอีกว่าหากผู้เสียหายไม่ได้เป็นผู้เปิดใช้บริการ ให้ไปดำเนินการแจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่ถูกเปิดใช้งานดังกล่าว แต่หากไม่สามารถเดินทางไปได้ สามารถแจ้งความออนไลน์ผ่านช่องทางไลน์ของสถานีตำรวจดังกล่าวได้

เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อติดต่อไปยังไลน์สถานีตำรวจ ซึ่งถูกมิจฉาชีพปลอมขึ้นแล้ว ระหว่างการติดต่อผู้เสียหายจะได้รับแจ้งว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน ต้องโอนเงินที่มีอยู่ในบัญชีมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ พร้อมทั้งข่มขู่ห้ามมิให้ผู้เสียหายแจ้ง หรือติดต่อกับบุคคลใดในระหว่างการโอนเงิน รวมถึงมีการส่งเอกสาราชการปลอมให้ผู้เสียหายตรวจสอบ มีการสร้างสภาพแวดล้อมให้ผู้เสียหายได้ยินเสียงว่าคุยอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจจริงอีกด้วย

การกระทำลักษณะดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นคนอื่น, ร่วมกันเป็นอั้งยี่, ร่วมกันเป็นซ่องโจร, ร่วมกันมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน และร่วมกันฟอกเงิน” หรือกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

โฆษก บช.สอท. กล่าวอีกว่า สิ่งแรกที่มิจฉาชีพมักจะทำคือการสร้างความน่าเชื่อถือต่อผู้เสียหาย โดยการทราบชื่อนามสกุลของผู้เสียหาย ใช้จิตวิทยาเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกของเหยื่อ มีการเขียนบทสนทนาให้มิจฉาชีพใช้พูดคุยกับเหยื่อ มีการแต่งกายเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ

และสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมือนจริง เพื่อทำให้เหยื่อคล้อยตามหลงเชื่อ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการหลอกลวง เช่น การใช้ระบบตอบรับอัตโนมัติ IVR (Interactive Voice Response) หรือเทคโนโลยี Deepfake เป็นต้น

เพราะฉะนั้นประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชน ให้พึงระมัดระวังการรับสายโทรศัพท์หมายเลขที่ไม่คุ้นเคย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมายเลขที่โทรมาจากต่างประเทศ ปัจจุบันจะมีเครื่องหมาย+697 ให้ท่านตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลทางการเงินกับผู้ใดโดยเด็ดขาด

พร้อมขอประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันภัยจากมิจฉาชีพแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ดังนี้

1.ไม่มีนโยบายของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานเอกชน ที่จะต้องโทรศัพท์ไปยังประชาชน เพื่อแสดงเอกสารราชการ กล่าวอ้างว่าท่านกระทำความผิด หรือมีส่วนในการกระทำความผิด หากพบการกระทำดังกล่าว สันนิษฐานได้ว่าเป็นมิจฉาชีพแน่นอน

2.ไม่ตกใจกลัว ไม่เชื่อเรื่องราวต่างๆ จากบุคคลที่ไม่รู้จัก ให้วางสายการสนทนาดังกล่าว ตรวจสอบก่อนโดยการโทรศัพท์ไปยังหมายเลขคอลเซ็นเตอร์ของหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง หรือโทรศัพท์สอบถามไปยังสายด่วนตำรวจไซเบอร์ หมายเลข 1441

3.ไม่โอนเงิน หากมีคำพูดว่าให้โอนเงินมาตรวจสอบเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ หรือเพื่อสิ่งใดก็ตาม นั่นคือแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพอย่างแน่นอน

4.ไม่เพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์เพื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่างๆ โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานีตำรวจ หรือหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายต่างๆ

5.ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลการเงินกับผู้ใดทั้งนั้น เช่น เลขบัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร รหัสหลังบัตร รหัส OTP เป็นต้น

6.ท่านสามารถบล็อกสายเรียกเข้าที่มาจากต่างประเทศได้ ด้วยการกด *138*1# แล้วโทรออก

7.ติดตั้งแอปพลิเคชัน Whos Call เพื่อแจ้งเตือนระบุตัวตนสายเรียกเข้าที่ไม่รู้จัก ป้องกันภัยจากมิจฉาชีพที่อาจโทรศัพท์มาหลอกลวง

8.ดูแล แจ้งเตือน ผู้สูงอายุ บุคคลใกล้ตัว เพื่อลดโอกาสในการตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากทางข่าวสดออนไลน์

.......

ศาลาอรุณนราภิรมย์ ศูนยฺ์ร่วมบุญสั่งจองบูชา เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

เนื้อทองแดงหน้าเงินลงยา ขนาด 3.5 เซนติเมตร เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี รายได้สมทบกองทุนการศึกษาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

สุดยอดมวลสารในพระผงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี เนื้อผงพุทธคุณ 108 ชนิดฝังตะกรุดทองคำ 1 คู่ และแบบฝังตะกรุดเงิน 1 คู่(คลิ๊ก)

ชุดกรรมการ จัดรวม 100 ชุด (หมายเลขเดียวกัน) เหรียญพระเจ้าตากสินมหาราช รุ่นมหาเศรษฐี วัดอรุณราชวราราม(คลิ๊ก)

เหตุผลหลักสำคัญในการในการจัดสร้างวัตถุมงคลพญายักษ์วัดแจ้ง รุ่นมหาบารมี เพื่อร่วมบุญสมทบทุนโครงการบูรณะปฏิสังขรณ์ถนนโบราณและปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคภายในวัดอรุณราชวราราม (คลิ๊ก)

ผงพุทธคุณมหาบารมี เศรษฐีพันล้าน สุดยอดมวลสารแห่งยุคที่บรรจุใต้ฐาน รูปหล่อพญายักษ์วัดแจ้ง รุ่นมหาบารมี ขนาด 4 นิ้ว และขนาด 1.5 นิ้ว เนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อนวะแก่เงิน (คลิ๊ก)

ประมวลปาฏิหาริย์แห่งเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ (คลิ๊ก)

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี เนื้อทองแดงลงยา ลายธงชาติ ช่วยชีวิตหนุ่มใหญ่ให้รอดตายจากเหตุรถพลิกคว่ำหลายตลบพุ่งชนเสาบอกทาง (คลิ๊ก)

บารมีเหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ รุ่นกรุงธนบุรี คุ้มครองชีวิต (คลิ๊ก)