ข่าวสธ.ชี้ยังไม่มีติดโอไมครอนแล้วดับ โควิดเริ่มเหมือนหวัดใหญ่ ใกล้เป็นโรคประจำถิ่น - kachon.com

สธ.ชี้ยังไม่มีติดโอไมครอนแล้วดับ โควิดเริ่มเหมือนหวัดใหญ่ ใกล้เป็นโรคประจำถิ่น
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s

วันที่ 6 ธ.ค.64 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 และสายพันธุ์โอไมครอนว่า สถานการณ์ทั่วโลกยอดติดเชื้อหลังระบาดใหญ่มาเกือบ 2 ปี มีผู้ป่วยยืนยัน 266 ล้านคน ติดเชื้อใหม่ยังสูง 4-5 แสนคน ทวีปอเมริกาและยุโรปเป็นจุดใหญ่ระบาดช่วง ธ.ค.นี้ ส่วนผู้เสียชีวิต 5.27 ล้านคน อัตราเสียชีวิตลดลงจาก 2% กว่า เหลือ 1.98% เพราะมีความรู้ดูแลรักษาดีขึ้น มียารักษาดีขึ้น และวัคซีนทำให้ลดอาการรุนแรง

ส่วนเอเชียแนวโน้มลดลง ยกเว้นเวียดนามและเกาหลีใต้ ที่มีแนวโน้มสูงอยู่ ส่วนไทยติดเชื้อใหม่ 4,000 คน มาจากต่างประเทศ 7 คน ติดเชื้อในประเทศ 3,993 คน หายป่วย 6,450 คน ถือว่าหายมากกว่าติดเชื้อใหม่มาเกือบเดือน อาการหนักเหลือ 1,259 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 330 คน แนวโน้มลดลง

ส่วนเสียชีวิตลดลงเรื่อยๆ วันนี้รายงาน 22 คน การฉีดวัคซีนช่วยลดความรุนแรงของโรคและการเสียชีวิต แม้ส่วนใหญ่คนรับวัคซีนแล้ว แต่มีคนไม่น้อยกังวลผลข้างเคียง ทั้งนี้ เรามีวัคซีนมากพอ บูสเตอร์เข็ม 3 มาเกือบ 4 ล้านคนแล้ว คนที่ยังลังเลใจ ขอมาช่วยกันฉีดวัคซีนจะได้ปลอดภัย อัตราเสียชีวิตจะได้ลดน้อยลงมากที่สุด

นพ.โอภาสกล่าวว่า สถานการณ์การระบาดในยุโรปและอเมริกามีมาก ดังนั้น การเปิดประเทศเราจึงคัดกรองผู้เดินทางค่อนข้างรัดกุม ผ่าน 3 ระบบ คือ Test&Go ในผู้เดินทาง 63 ประเทศ หากไม่พบเชื้อเดินทางได้ภายใต้การติดตาม เงื่อนไขคือฉีดวัคซีนครบ มีผลตรวจ RT-PCR 72 ชั่วโมงก่อนเดินทาง ระบบแซนด์บ็อกซ์ และระบบกักตัว ซึ่งระบบ Tes5&Go และแซนด์บ็อกซ์ เราตรวจพบอัตราติดเชื้อ 0.02% ซึ่งจากความร่วมมือของแต่ละหน่วยงาน จึงช่วยกันควบคุมการเกิดโรคไม่ให้เกิดการระบาดในไทยได้ดี

ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ของโควิดเราพบตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือกลายพันธุ์แล้วทำให้แพร่เร็วขึ้น รุนแรงมากขึ้น ดื้อต่อยารักษายา และวัคซีนประสิทธิภาพลดลงหรือไม่ ที่ผ่านมามีการกลายพันธุ์ที่สำคัญ 4 ตัว คือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ซึ่งไทยเจอ 3 สายพันธุ์ ตอนนี้คือเดลตาเป็นสายพันธุ์หลัก ที่ระบาดเร็ว อาการรุนแรงมากขึ้น วัคซีนลดประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อ แต่ยังป้องกันอาการรุนแรงและเสียชีวิต

ส่วนที่ประกาศล่าสุด คือ โอไมครอน ซึ่งเรียกได้ทั้ง โอมิครอน หรือ โอไมครอน ถือว่าผ่านไป 1 ปีเพิ่งมีสายพันธุ์ที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม

นพ.โอภาสกล่าวว่า ขณะนี้รูปแบบการะบาดของโควิดจะใกล้เคียงหวัดใหญ่ในอดีต ที่เมื่อระบาดเยอะๆ จะกลายเป็นโรคประจำถิ่น ความรุนแรงดูลดน้อยลง อย่างโอไมครอน เมื่อติดตามทั่วโลก องค์การอนามัยโลกรายงานว่ายังไม่มีเสียชีวิตจากสายพันธุ์นี้แม้แต่รายเดียว ซึ่งตรงกับหลายหน่วยงานที่ระบุว่า ความรุนแรงของสายพันธุ์โอไมครอน น้อยกว่าเดลตามาก

สำหรับต้นกำเนิดโอไมครอนเกิดที่แถบแอฟริกาใต้ เมื่อปลายต.ค.-ต้นพ.ย. มีการพุ่งขึ้นของผู้ป่วย จึงไปดูรหัสพันธุกรรมพบมีการกลายพันธุ์ จึงรายงานองค์การอนามัยโลก เพื่อเตือนประชาชนทั่วโลกว่าพบสายพันธุใหม่ มีการประกาศจับตาใกล้ชิด

ซึ่ง 1 เดือนทั่วโลกมีการหาสายพันธุ์นี้ ขณะนี้พบ 46 ประเทศ ล่าสุดเติมประเทศไทยเป็นประเทศที่ 47 แต่ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ติดเชื้อภายในประเทศ ซึ่งมีในแถวแอฟริกาใต้ กับการติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้าประเทศ ซึ่งไทยเป็นการติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้ามา และยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน

“หลังรับทราบสายพันธุ์โอไมครอน ประเทศไทยเพิ่มมาตรการห้ามผู้เดินทางจาก 8 ประเทศแถบแอฟริกาใต้ งดการเดินทางผู้มาจากแอฟริกาทั้งทวีป และคนเข้ามาแล้วจากต่างประเทศให้ตรวจหาเชื้อโอไมครอนทุกราย เพื่อหาผู้ป่วยรวดเร็ว ส่วนกรณีข่าวผู้ป่วยที่สถาบันบำราศนราดูรมีสายพันธุ์โอไมครอน เป็นหญิงแอฟริกัน ตรวจพบสายพันธุ์เดลตา อาการปกติดี ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง” นพ.โอภาสกล่าว

ส่วนเคสยืนยันสายพันธุ์โอไมครอนรายแรก เป็นชายอเมริกันอายุ 35 ปี อาศัยอยู่สเปน 1 ปี เป็นนักธุรกิจ ไม่มีอาการ มีผลตรวจ RT-PCR วันที่ 28 พ.ย.ไม่พบ จึงเดินทางมาไทยวันที่ 29 พ.ย. มาถึงตรวจอีกครั้งโดยพบเชื้อวันที่ 1 ธ.ค. ส่งยืนยันกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเข้ารับการรักษา รพ.แห่งหนึ่ง พบว่าอาการน้อยมาก แทบไม่มีอาการ ซึ่งคนนี้ไม่มีอาการ ปฏิเสธโรคประจำตัว และไม่เคยติดเชื้อมาก่อน

ตอนแรกรับอาการทุกอย่างปกติ ทั้งผลเอกซเรย์ ผลเลือดปกติ แต่ตรวจเจอเชื้อ จากการไปตรวจสอบบุคคลนี้ระวังตัวเองสูง ใส่หน้ากากตลอดเวลา จึงไม่มีผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ขณะนั่งเครื่องบินก็นั่งคนเดียว ไม่ได้นั่งติดกับคนข้างๆ อยู่โรงแรมในระบบ Test&Go ก็ใส่หน้ากากตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม คนที่เคยมีประวัติเจอบุคคลนี้เราจะสอบสวนทุกคน และตรวสอบหาเชื้อเพิ่มเติม ซึ่งทั้ง 19 คนที่เคยมีประวัติเจอ เป็นพนักงานโรงแรม 17 คน พนักงานสนามบิน 2 คน ทุกคนอาการปกติ ไม่มีใครติดเชื้อเพิ่มเติม แต่จะติดตามจนครบระยะฟักตัวของโรค

“สายพันธุ์โอไมครอนดูแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยคล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากจากสายพันธุ์อื่น ทั้งอัลฟา เบตา เดลตา และแกมมา ที่มีรายงานในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ยังไม่มีรายงานติดเชื้อโอไมครอนเสียชีวิต ดังนั้น มาตรการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือ

ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งไทยฉีดแล้ว 95 ล้านกว่าโดส เข็ม 1 ครอบคลุมคนไทยเกิน 75% แล้ว เข็ม 2 เกิน 60 กว่า% และเริ่มบูสต์เข็ม 3 แล้ว ให้รอประกาศจาก กระทรวงสาธารณสุขอีกครั้งว่าฉีดครบ 2 เข็มเดือนไหน เมื่อไรมาฉีดบูสเตอร์อีกครั้ง คาดว่าธ.ค. 64 – ม.ค. 65 จะเร่งฉีดบูสเตอร์ให้มากที่สุด” นพ.โอภาสกล่าว

นอกจากนี้ ใช้มาตรการเดียวควบคุมการระบาดไม่ได้ ยังต้องใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคล เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง COVID Free Setting และการตรวจ ATK รวมถึงยังยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว อย่างระบบ Test&Go ที่จะเปลี่ยนเป็นการตรวจ ATK ก็ยังคงตรวจ RT-PCR ต่อไป กรณีป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน ก็เน้นย้ำสอบสวนให้ละเอียด และทุกคนที่สงสัยให้ไปตรวจหาสายพันธุ์โอไมครอน

นพ.โอภาสกล่าวว่า ข้อมูลโควิดมีมากมาย ส่วนใหญ่เป็นความเห็นความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง กระทรวงสาธารณสุขจะรวบรวมข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญมาให้ทราบ ทั้งนี้ การติดต่อของโอไมครอน ไม่ต่างจากสายพันธุ์อื่น ยังติดต่อผ่านละอองฝอยเป็นหลัก ส่วนการติดต่อผ่านทางอากาศเจอได้น้อยมากในบางกรณี เช่น ห้องอับ ห้องที่มีการแพร่กระจายเชื้อสูงเท่านั้น ไม่มีการแพร่ระบาดผ่านทางอากาศแบบทั่วไป ส่วนวัคซีนไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดไหนไม่สามารถป้องกันติดเชื้อได้ 100% แต่ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันอยู่

จากการวิเคราะห์ข้อมูล ไทยเป็นประเทศที่ใช้วัคซีนหลากหลายยี่ห้อ ประสิทธิผลวัคซีนมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อระดับ 50-80% แต่ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตได้ค่อนข้างดีมาก 90% ขึ้นไป ฉะนั้นเมื่อพูดถึงประสิทธิภาพของวัคซีน ต้องพูดถึง 2 ส่วน คือ การป้องกันการติดเชื้อ และการลดความรุนแรงของโรค ซึ่งทั่วโลกเห็นตรงกันว่าวัคซีนที่ฉีดไปป้องกันมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้ดี ส่วนการป้องกันติดเชื้อประสิทธิภาพลดน้อยลง แต่ก็ดีกว่าการไม่ฉีดวัคซีนเลย

“สายพันธุ์โอไมครอนเราพบเป็นรายแรก ข้อมูลขณะนี้แม้ยังไม่มากนัก แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่า สายพันธุ์นี้ดูเหมือนระบาดได้ง่ายขึ้น วิธีการป้องกันสำคัญ คือ คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนขอให้มารับวัคซีน ส่วนใครที่รับวัคซีน 2 เข็มหลายเดือนแล้วให้รอฟังประกาศอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ยังเป็นมาตรการสำคัญ

เป็นมาตรการส่วนบุคคลที่ทุกคนจะช่วยในการป้องกันการติดเชื้อโควิดทุกสายพันธุ์ แม้สายพันธุ์โอไมครอนจะมีข่าวเยอะ แต่องค์การอนามัยโลกย้ำว่ามีการระบาดมาตั้งแต่ พ.ย. ผ่านมาเดือนกว่ายังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโอมไครอนแม้แต่รายเดียวทั่วโลก ขอให้ประชาชนมั่นใจในมาตรการที่ กระทรวงสาธารณสุขแจ้งให้ทราบ” นพ.โอภาส กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าการแพร่เร็วแต่อาการไม่รุนแรง แสดงว่าไม่ต้องกังวลมาก และโควิดกำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นหรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า โควิดใกล้จะเป็นโรคประจำถิ่น แต่เรายังต้องกังวลอยู่ แต่ไม่อยากให้กังวลมาก

ขอขอบคุณข้อมูลจากทางข่าวสดออนไลน์

.......

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

ชมภาพทั้งหมด คลิ๊ก
ชมคลิปทั้งหมด คลิ๊ก

เที่ยวชมความงามสดงดงามของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองจริงทั้งพระอาราม

สแกน QR Code เพื่อการเที่ยวชมความจริงของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองความจริงทั้งพระบถ
QR Code เพื่อการสำรวจความงามของวัดอรุณทั้งพระอาราม.
QR 碼以探索黎明寺的美麗。整個修道院。

เที่ยวชมความงามสดงดงามของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองจริงทั้งพระอาราม

เที่ยวชมความงามสดงดงามของวัดอรุณราชวรารามแบบจำลองจริงทั้งพระอาราม

.......

บารมีชาวตากชาววัดอรุณรุ่นกรุงธนบุรีช่วยชีวิตหนุ่มใหญ่ให้รอดตายจากรถต่างประเทศ
https://sacred.kachon.com/353935

.......

สถาบันปาฏิหาริย์สมเด็จพระราชาคณะมหาราชชาววัดอรุณ (คคก)
https://sacred.kachon.com/353522

.....

ร้านบูชามงคล by กะฉ่อนดอทคอม (คคก)
https://shop.kachon.com

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด

ชมภาพทั้งหมด
ชมคลิปทั้งหมด