ข่าวนมโรงเรียนส่อวุ่นทั้งประเทศ มิวบอร์ดขู่ประท้วงเทนมทิ้ง - kachon.com

นมโรงเรียนส่อวุ่นทั้งประเทศ มิวบอร์ดขู่ประท้วงเทนมทิ้ง
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s

จากกรณี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกข้อตกลงหรือหลักเกณฑ์ใหม่ จัดสรรการผลิตนมโรงเรียนให้ผู้ประกอบการหรือใครก็ตามสามารถเข้ามาร่วมการผลิตนมโรงเรียนในจำนวน 1,300 ตันต่อวันได้ ปรากฏว่า บางรายไม่มีน้ำนมเป็นของตนหรือมีน้ำนม แต่ไม่เพียงพอหรือแม้แต่กระทั่งไม่ได้ผลิตนมโรงเรียนเอง ไปกว้านซื้อนมจากแหล่งต่าง ๆ มาเข้าร่วมโครงการ เป้าหมายเพื่อสร้างความหลากหลายทางการตลาด ตามที่ปรากฏเหตุการณ์ไปแล้วนั้น

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว เมื่อวันที่ 22 พ.ค. คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิวบอร์ด) ร่วมกับสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ นำโดย นายนัยฤทธิ์ จำเล, นายสุบิน ป้อมโอชา, นายวินนา ศรีสงคราม ได้ประชุมร่วมกัน ก่อนจะมีมติออกมาว่า จากเดิมที่รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา เคยใช้ระบบการจัดสรรนมทั้งประเทศอย่างเป็นธรรม ไม่มีน้ำนมเหลือในประเทศและยังสามารถผลิตไปจำหน่ายยังหลายประเทศในอาเซียนได้อีกด้วย มีการแบ่งนมออกเป็น 3 กองในแต่ละวัน กองที่ 1ใช้เพื่อผลิตเป็นนมโรงเรียน 1,300 ตัน, กองที่ 2 ใช้เป็นนมเพื่อพาณิชย์ 700 ตัน และกองที่ 3 เพื่อแลกเปลี่ยนเป็นนมผง 1,400 ตัน โดยหลักเกณฑ์เดิมไม่เคยสร้างปัญหาให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมแต่อย่างใด

แต่การออกหลักเกณฑ์ใหม่ของกระทรวงเกษตรฯ ทำให้ผู้ประกอบการหรือใครก็ตามสามารถเข้ามาร่วมการผลิตนมโรงเรียนในจำนวน 1,300 ตันต่อวันได้ ปรากฏว่ามีบางคณะที่ไม่มีน้ำนมเป็นของตน หรือมีน้ำนมแต่ไม่เพียงพอหรือแม้แต่กระทั่งไม่ได้ผลิตนมโรงเรียนเอง ไปกว้านซื้อนมจากแหล่งต่าง ๆ มาเข้าร่วมโครงการ ทำให้ผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศเกือบ 30,000 ครอบครัวเดือดร้อน มีน้ำนมที่รีดจากแม่โคเหลือแต่ละวันเฉลี่ยวันละกว่า 110 ตัน หรือ เดือนละกว่า 3,300 ตัน ไม่มีที่จำหน่าย จะต้องนำไปเททิ้งต่อไป ถือเป็นการทำลายความมั่นคงของผู้เลี้ยงโคนมอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน ซึ่งจะเททิ้งที่ไหนให้คนทั้งประเทศได้รับรู้ความเดือดร้อนให้รู้ว่ามีความไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม (มิวบอร์ด) จะกำหนดสถานที่กันต่อไป

ในเบื้องต้นทาง "มิวบอดร์ด" ขอเรียกร้องความเป็นธรรมไปถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หรือใครก็ตามที่มีอำนาจทบทวนหลักเกณฑ์ใหม่ได้แก่ 1. ให้สหกรณ์ขนาดเล็กสามารถเข้าร่วมโครงการอาหารเสริมหรือนมโรงเรียนได้ สหกรณ์โคนมที่มียอดผลิตไม่เกิน 60,000 ถุงต่อวันไม่ต้องปรับลดการผลิตลงตามข้อตกลงหรือหลักเกฌฑ์ใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2. ให้มีการทบทวนเรื่องการใช้น้ำนมดิบผลิตนมโรงเรียนตามปริมาณที่มีอยู่จริงในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาคุณภาพน้ำนมไม่ได้มาตรฐานที่อาจะมีการนำมาเข้าร่วมการจัดสรรนมโรงเรียน, 3. ให้รัฐบาลเร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วประเทศที่ได้รับความเดือดร้อนจากหลักเกณฑ์หรือข้อตกลงใหม่ เนื่องจากแต่ละสหกรณ์โคนมไม่มีตลาดรองรับน้ำนมดิบที่ถูกปรับลดลงไปจากจากเรื่องข้อตกลงนี้.