ข่าวอ.เจษฯลั่นไม่จริง! สูตร'ยาผีบอก'รักษาอัมพฤกษ์หายขาด - kachon.com

อ.เจษฯลั่นไม่จริง! สูตร'ยาผีบอก'รักษาอัมพฤกษ์หายขาด
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s

วันนี้ (10 พ.ค.) เฟจเฟซบุ๊ก "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" ได้โพสต์ข้อความว่า มาอีกแล้วครับ สูตรยาผีบอกรักษาโรค คราวนี้อ้างว่า "รักษาโรคอัมพฤกษ์ให้หายขาดได้" แชร์กันไปเป็นหมื่นแล้ว .. ไม่จริงนะครับ !! โรคอัมพฤกษ์อัมพาต เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแล ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ดีกว่า

โรคอัมพฤกษ์อัมพาต หรือจริงๆ ก็คือ โรคหลอดเลือดสมอง นั้น เป็นอีกโรคหนึ่งที่มีความสำคัญและอันตรายมาก ในประเทศไทย พบว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายหรือพิการสูงเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย (รองจากโรคเอดส์และอุบัติเหตุ) และสูงเป็นอันดับ 2 ในเพศหญิง (รองจากโรคเอดส์)

อัมพฤกษ์อัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. สมองขาดเลือด เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงสมอง เกิดการตีบหรืออุดตัน 
2. หลอดเลือดสมองแตก ก้อนเลือดจะเบียดดันเนื้อสมองส่วนที่ดีทำให้เสียหน้าที่เซลล์สมองทำงานผิดปกติ

หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรรีบพบแพทย์ทันที 
1.มีอาการชาหรืออ่อนแรงของแขนขา หรือใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
2. ตาข้างใดข้างหนึ่งมัวหรือมองไม่เห็น 
3. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรือไม่เข้าใจคำพูด 
4. มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุชัดเจน 
5. มีอาการมึนงง หรือเดินไม่มั่นคง เสียศูนย์

สำหรับการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดจากการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดในระยะเฉียบพลันที่มีการศึกษายืนยันแล้วว่าได้ผลดีชัดเจน ได้แก่
1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Tissue plasminogen activator, tPA) ทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันภายในเวลา 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ 
2. การให้รับประทานยาแอสไพรินอย่างน้อย 160 mg ต่อวันภายใน 48 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ 
3. การรับตัวผู้ป่วยไว้ในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (acute stroke unit) 
4. การผ่าตัดเปิดกะโหลก (Hemicraniectomy) จะพิจารณาทำเฉพาะกรณีที่มีอาการรุนแรงและมีการตีบหรืออุดตันของหลอดเลือดแดงใหญ่ Middle cerebral atery ในสมองเท่านั้น

เรื่องการดูแล มีความสำคัญมากในการป้องกันไม่ให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต โดยมีข้อปฏิบัติดังนี้
1. การรักษาและควบคุมปัจจัยเสี่ยง ได้แก่การรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง การงดสูบบุหรี่
2. การป้องกันการกลับเป็นซ้ำด้วยการใช้ยาต้านเกล็ดเลือด หรือยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด
3. การลดอาหารไขมัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว อาหารเค็ม กินผักและผลไม้ให้มาก 
4. จำกัดการดื่มสุรา เบียร์
5. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
6. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ

ข้อมูลจาก https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp…