ข่าวกษ.พร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี 61-62 - kachon.com

กษ.พร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปี 61-62
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s



นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า จากการคาดการณ์ของ กรมอุตุนิยมวิทยาและสำนักงานสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(สสนก.) ระบุว่าช่วงแล้ง อาจยาวนานกว่าทุกปี รวมทั้งอุณหภูมิจะร้อนกว่าทุกปีที่ผ่านมาด้วย ซึ่งกระทรวงเกษตรฯได้วางนโยบายเตรียมพร้อมไว้ตั้งแต่เดือนมกราคม เน้นการบริหารจัดการน้ำ สั่งการให้กรมชลประทานและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนำข้อมูล 5-10ปี ย้อนหลังในการกักเก็บน้ำมาวิเคราะห์สถานการณ์ถึงปริมาณน้ำที่ใช้ในกิจกรรมต่างๆ



ตอนนี้น้ำที่อยู่ในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียน มี 35 อ่าง ตรวจสอบถึงวันที่ 31 มีนาคม มีปริมาณน้ำอยู่ประมาณ40,000กว่าล้านลูกบาศ์กเมตร มีน้ำที่สามารถนำออกจากอ่างได้ถึง 23,000ล้านลูกบาศ์กเมตร ครอบคลุม น้ำกิน น้ำใช้ น้ำดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และรองลงไปน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมโดยฤดูแล้งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 พฤษภาคม

ทั้งนี้มีพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทาน ประมาณ 35 ล้านไร่ มีน้ำเพียงพอทั้งการอุปโภค บริโภค รวมถึงการเกษตร แต่หากเกิดวิกฤติฝนทิ้งช่วงหรือไม่ตกเลย จนถึงเดือนมิถุนายน-กรกฏาคม กรมชลประทานมีแผนรองรับ มีน้ำสำรองที่สามารถบริหารจัดการให้มีน้ำเพียงพอน้ำกินใช้ ส่วนน้ำเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมกับน้ำเพื่อการเกษตรคงมีได้เป็นบางจุด และบางแห่งเท่านั้น



สำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน จะมีสำนักงานชลประทานจังหวัดร่วมกับหน่วยงานราชการต่างๆคอยดูแล ประเมินสถานการณ์ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนด้วยการสนับสนุนเครื่องจักรกล แต่ในพื้นที่เหล่านั้นจะต้องมีแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือน้ำใต้ดิน ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าว อาจมีความเสี่ยงต่อปริมาณน้ำที่อาจจะไม่เพียงพอ เพราะมีพื้นที่ทำนาปรังเกินแผนไปถึง 7แสนไร่ จากพื้นที่ทำนาปรังได้ประมาณ 1.6ล้านไร่



''ทางรัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการปลูกพืชใช้น้ำน้อย พืชอายุสั้น อย่างการปลูกข้าวโพดหลังนา ซึ่งมีเกษตรกรให้ความร่วมมือประมาณ 7-8 แสนไร่ และหากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำก็พร้อมช่วยเหลือ โดยท่านนายกรัฐมนตรี เห็นใจเกษตรกรที่งดทำนาปรังแล้วปลูกพืช ใช้น้ำน้อย หากเจอปัญหาขาดแคลนน้ำ จะได้รับความช่วยเหลือ เป็นค่าครองชีพไร่ละ 600 บาท รายละไม่เกิน 15ไร่ รวมเป็นเงิน 9,000บาท ซึ่งปีนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการเจรจาให้เอกชนมารับซื้อผลผลิตในราคาประกัน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากเดิมปลูกเพียง 4แสนไร่ ขณะนี้เพิ่มมาถึง 9 แสนไร่ '' นายกฤษฏา กล่าว



นอกจากนี้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังสั่งการให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯ อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเษตร เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำสามระดับด้วยกัน คือ 1. แห้งแล้งรุนแรง 4 จังหวัด น้ำไม่เพียงพออุปโภค บริโภค คือ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม ศรีสะเกษ 2. พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ไม่เพียงพอทำการเกษตร 7จังหวัด เชียงใหม่ เลย นครสวรรค์ กาญจนบุรี ราชบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ ได้กระจายเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำให้ชาวบ้าน ได้นำเครื่องมือเครื่องจักรวางแล้วทุกพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือดูแลตลอดเวลาเต็มรูปแบบ และ 3. พื้นที่เสี่ยงเริ่มมีปัญหา 30 จังหวัด อาทิ จังหวัดพิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กาฬสินธุ์ นครพนม หนองบัวลำภู เป็นต้น