ข่าวฮือฮา!หนูน้อย8ขวบ พบทางแก้PM2.5ด้วยมอส! - kachon.com

ฮือฮา!หนูน้อย8ขวบ พบทางแก้PM2.5ด้วยมอส!
ข่าวประจำวัน

photodune-2043745-college-student-s

ยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ในขณะนี้ สำหรับสถานการณ์ค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ ค่า PM 2.5 ที่สูงกว่ามาตรฐานจนมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในภาคเหนือ จนเกิดข้อเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยเร็วไปทั่วสังคมออนไลน์นั้น

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ล่าสุดโลกออนไลน์เกิดกระแสแชร์อีกครั้ง เมื่แฟนเพจเฟซบุ๊ก@สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI ได้เผยข้อมูลระบุ "ฝุ่นพิษ PM 2.5 พบทางแก้แล้วจากเด็ก 8 ขวบ! ด้วยการเลี้ยงมอส" วันนี้แสงซินโครตรอนแสงเล็กๆที่มั่นสร้างคุณภาพชีวิตของทุกคนให้ดีขึ้นมีทางแก้มาเล่าให้ฟัง โดยสิ่งแรกที่ทุกคนควรรู้ก่อนนั้นก็คือ งานวิจัยนี้เป็นของเด็กอายุเพียง 8 ขวบ! "เด็กคนนี้ก็คือน้องยินดี หรือด.ญ. ยินดี รังษี อายุ 8 ขวบ นักเรียนชั้นป.3 รร.วารีเชียงใหม่ น้องได้ค้นพบกุญแจสำคัญในการจบปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยการนำมอสพันธุ์คริสต์มาสมาทำเป็น เครื่องไบโอฟิลเตอร์ ซึ่งน้องเองได้เล่าอธิบายไว้ว่าก่อนหน้านี้คุณพ่อได้พาตนเองไปเที่ยวชมสวนมอส เลยเกิดแรงบันดาลใจอยากจะกลับมาทดลองเลี้ยงและต่อยอดทำเป็นที่ดูดฝุ่นละอองขนาดเล็ก"

โดยเครื่องดูดฝุ่นนั้นก็คือ "เครื่องไบโอฟิลเตอร์" ภายในเครื่องจะมีมอสที่ปลูกเลี้ยงไว้เป็นผืนกรองฟิลเตอร์ ลักษณะเป็นแนวดิ่งหลายๆชั้น เพื่อกรองควันหรือฝุ่นขนาดเล็ก และกรองออกซิเจนออกมาแทน ซึ่งลักษณะการทำงานเหมือนกับเป็นเครื่องกรองอากาศที่ขายดิบดีในเวลานี้ โดยน้องยินดียังบอกข้อมูลเชิงลึกให้คนทั่วไปรู้ในเวลาเดียวกันอีกว่า การสูบบุหรี่ทำให้ร่างกายได้รับฝุ่น PM 2.5 มอสในการกรองตรงนี้จะทำให้ PM 2.5 ลดค่าลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ

ซึ่งก็ถูกต้องไม่ผิดเพี้ยน เพราะ ดร.พญ.เริงฤดี ปธานวนิช รอง ผอ.ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ ได้ให้ข้อมูลไว้ว่าการสูบบุหรี่ 1 มวน มีอันตรายเท่ากับการรับฝุ่นพิษ PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร "ผู้ใหญ่หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะรู้สึกดีใจและปลื้มในความคิดของน้องยินดีเพราะในสมันที่ตนเองเป็นเด็กๆ การปลูกถั่วงอกได้สำเร็จนี่ก็ถือว่ายืนยิ้มน้ำตาไหลแล้ว และหลังจากนี้น้องยินดีก็จะพัฒนาต่อยอดในสเต็ปต่อไปที่มั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น โดยได้รับความร่วมมือจากการประสานงานของ 4 หน่วยงาน" ลำดับแรกคือ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการดูเรื่องพันธุ์พืช ลำดับที่สองภาควิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการดูเรื่องโครงสร้างเครื่อง ลำดับที่สาม ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยลาดกระบัง ดูเรื่องระบบควบคุม และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน โดยในอนาคตน้องยินดีจะนำแนวคิดทั้งหมดไปจดสิทธิบัตร และทำวิจัยกับสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน เพื่อเป็นการต่อยอดได้อย่างเต็มศักยภาพด้วยเทคโนโลยีแสงวิทยาศาสตร์ขั้นสูงที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน...



ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การมหาชน) SLRI