ไขสงสัยหนุ่มถูกงูกัดถึงรพ. คิดว่าปลอดภัยแต่ทำไมตาย
ข่าวประจำวัน
แต่ .. สุดท้ายไม่สามารถยื้อชีวิตน้องได้ ขอแสดงความเสียใจกับน้องและทางครอบครับด้วยนะคับ จึงเกิดเป็นคำถามในใจว่า โรงพยาบาลมีเซรุ่มไหม? และหมอมีความรู้ความชำนาญการรักษาเกี่ยวกับการถูกงูพิษกัดไหม? เพราะทุกวันนี้มีกี่โรงพยาบาลที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้กับสิ่งที่ไม่น่าจะให้เกิดความสูญเสีย และที่สำคัญมันดันเกิดขึ้นในพื้นที่กทม.ครับ ทั้งนี้หลังจากที่ได้มีการโพสต์ข้อความดังกล่าวออกไป ได้มีชาวโลกออนไลน์เข้ามาแสดงความคิดเห็น บอกเล่าประสบการณ์ที่ตนเองเคยถูกงูกัด และรอดชีวิตมาได้ พร้อมกับบอกวิธีการรักษาของแพทย์
ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก Jarukit Thitiphornphong ของ นพ.จารุกิตติ์ ธิติพรพงษ์ ได้มาไขข้อข้องใจของชาวโลกออนไลน์ โดยระบุว่า ขออนุญาตตอบในฐานะแพทย์นะครับ ปกติการฉีดเซรุ่มแก้พิษงูนั้นจะให้ในกรณีที่มีอาการแสดงทั่วร่างกาย (ไม่ได้แสดงเฉพาะบริเวณที่โดนกัด) เพราะเซรุ่มที่ได้นั้นมีโอกาสแพ้สูง และก่อนให้ควรทดสอบอาการแพ้ก่อนครับ ซึ่งในการให้เซรุ่มก็ไม่ได้ยืนยัน 100%ว่าจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ทั้งหมด แต่เพิ่มโอกาสจะลดความรุนแรงของพิษได้ครับ ส่วนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ห้ามดูด กรีด นาบไฟบริเวณแผลที่ถูกกัด เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยขับพิษแล้วยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ และการบาดเจ็บอวัยวะนั้น ๆ ได้ครับ แต่ให้ช่วยด้วยการพันบริเวณที่ถูกกัดให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเหมือนการดามกระดูก เพื่อลดการไหลเวียนเลือด(พร้อมทั้งบอกให้ผู้ป่วยอย่าตื่นตกใจ) การมัดเหนือแผลไม่ได้ช่วยให้พิษลามช้าลง แต่กลับทำให้บริเวณที่ถูกกัดมีอาการเฉพาะที่จากพิษมากขึ้น(โดยเฉพาะพิษงูที่มีการทำลายเนื้อเยื่อ) อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยรายนี้ผมไม่ทราบประวัติการรักษาใด ๆ จึงไม่ขอเอ่ยถึงครับ สุดท้ายขอแสดงความเสียใจแก่ญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยครับ
ขอบคุณภาพและข้อความจากเพจ Snake Wrangler by Pinyo